เกี่ยวกับองค์กร

กรรมการบริหาร

ประวัติพระมงคลบิตร

การบูรณปฏิสังขรณ์

แผนงาน

ติดต่อสำนักงาน

ball.gif

การบูรณปฏิสังขรณ์ในอดีต

 

      ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา  รัชสมัยสมเด็จพระเจ้า
 ทรงธรรม พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๒๑   แห่งกรุงศรีอยุธยา
 มีข้อความปรากฏว่า
     "ศักราช ๙๖๕ ปีเถาะ เบญจศก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ชัก
  พระมงคลบพิตร อยู่ฝ่ายตะวันออกมาไว้ฝ่ายตะวันตก แล้วให้ก่อ
  พระมณฑปใส่"
     ครั้นเมื่อ พ.ศ.๒๒๔๙ ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ อสุนี
 ตกลงมาต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตร เกิดไฟไหม้เครื่อง
 มณฑปทรุดพังมา ต้องพระศอพระมงคลบพิตรหักตกลงมายังพื้น  
 สมเด็จพระเจ้าเสือจึงโปรดฯ ให้รื้อเครื่องบนออก ก่อสร้างใหม่
 แปลงเป็นมหาวิหาร  ที่ต้องแก้เป็นวิหารนั้น ปรากฏว่าไม่ได้รื้อซาก
 มณฑปของเดิมออก คงก่อเสริมผนังด้านหน้าและด้านหลังเฉียง
 ขึ้นไปรับขื่อและจั่วเท่านั้น ส่วนหลังคาคงจะทำเป็นยอดมณฑป
 ของเดิม เพราะปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารอีกครั้งหนึ่ง
 เมื่อคราวที่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ทรงซ่อม ด้วยดำรัสว่า
 "พระวิหารนั้นอย่าให้ทำเป็นมณฑปเลย ให้ทำเป็นหลังคาเหมือน
 อย่างวิหารทั้งปวง"

   พระราชพงศาวดาร กล่าวอีกตอนหนึ่งว่า
   "เมื่อจุลศักราช ๑๑๐๓ (พ.ศ.๒๒๘๕)  สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ
 โปรดฯ ให้รื้อมณฑปก่อใหม่แปลงเป็นมหาวิหาร ๒ ปี จึงแล้วเสร็จ"
   สิ่งที่ปฏิสังขรณ์ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ  เท่าที่ตรวจพบ
  คือมุขหน้าวิหารอย่างหนึ่ง  กับเสารอบผนังด้านนอกอีกอย่างหนึ่ง
 ซึ่งเมื่อสร้างขึ้นแล้ว ทำให้ภายในวิหารมืดลงกว่าเดิมอีกมาก ทรง
 แปลงหลังคายอดเป็นหลังคาธรรมดา นอกจากนี้มีการซ่อมบัวฐาน
 และหัวเม็ดกำแพง เป็นต้น  โปรดฯ ให้ปั้นลวดลายที่ฐานรองรับกับ
 สันถัดขึ้นไป ทำเป็นผ้าทิพย์ห้อยหน้าพระมงคลบพิตร และทำเป็น
 รูปบัวคว่ำตรงฐานบัลลังก์ ที่ตั้งบนหลังสิงห์ก่อน  ส่วนผ้าทิพย์นั้น
 ทำลาดทรุดเข้าไปใต้ที่นั่งของพระพุทธรูป แล้วคลี่ลาดห้อยลงมา
 อ่อนช้อยไปตามชั้นบานถึงปลายสุด ทำงอนพาดอยู่ตรงหน้า ฝีมือ
 ทำในครั้งนั้นนับว่าปราณีตงดงามมาก
   "เพลาบ่าย ๔ โมง พม่ายิงปืนสูงวัดท่าการ้อง วัดแม่นางปลื้ม
 ระดมเข้ามาในกรุง แล้วเอาเพลิงจุดเชื้อที่รากกำแพง ครั้งเพลาค่ำ
 กำแพงทรุดลงหน่อยหนึ่ง พม่าก็เข้ากรุงได้ เข้าเผาพระราชวังและ
 วัดพระศรีสรรเพชญ์ แล้วกวาดเอากษัตริย์ขัติยวงศ์และท้าวพระยา
 เสนาบดีอพยพครอบครัวทั้งปวงไป"
 

    พม่าจุดไฟเผาวัดวาอารามและพระราชวังลอกเอาทองคำที่หุ้ม
 พม่าเข้าใจว่าพระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปที่หุ้มทองคำ จึง
 จุดไฟเผาองค์พระพุทธรูป ทำให้เครื่องบนหักลงมาต้องพระเมาฬี
 และพระกรข้างขวาหักสะบั้น  ทุกสิ่งทุกอย่างพังทลายหมดสิ้น ช่าง
 น่าอนาถใจยิ่งนัก

  พระธิดาของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงอธิบายว่า เมื่อปลาย
 รัชกาลที่ ๕ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ เสด็จประพาสพระราชวัง
 กรุงศรีอยุธยา พร้อมด้วยแขกต่างประเทศ

   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ มาทรง
 กระทำพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒
 บริเวณพระราชวังโบราณ จึงได้มีการขุดแต่งปรับปรุงดีขึ้นมาก แต่องค์พระมงคลบพิตรก็ยังคงไม่ได้รับการบูรณะ

  จนเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๓  พระยาโบราณราชธานินทร์ สมุหเทศาภิบาล
 มณฑลอยุธยา
  ได้ซ่อมพระเมาฬีและพระกรข้างขวาด้วยปูนปั้น
 ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๔  คุณหญิงอมเรศร์ สมบัติ  มีศรัทธาปฏิสังขรณ์
 ฐานพระมงคลบพิตรอีกครั้งหนึ่ง แต่น่าเสียดายที่ได้ลบรอยปูนปั้น
 ของเดิมออกเสียจนหมด เนื่องจากได้ทำผ้าทิพย์และลวดลายใหม่
 ฝีมือที่ทำใหม่ซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ไม่งามอ่อนช้อยเหมือนเดิม

 เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ พณฯอูนุ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศสหภาพพม่า
ได้เดินทางมายังประเทศไทยและไปเยี่ยมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ได้ปลูกต้นโพธิ์ไว้ที่หน้าวิหารและบริจาคเงินจำนวน ๒๐๐,๐๐ บาท
 มอบให้รัฐบาลไทยเพื่อสร้างหลังคาวิหาร รัฐบาลได้อนุมัติเงินเพิ่มอีก  ๒๕๐,๐๐๐ บาท แล้วมอบให้กรมศิลปากรออกแบบให้เหมือนเดิม
 มอบให้กรมโยธาเทศบาลดำเนินการซ่อมแซมแล้วเสร็จเมื่อ
 ปี พ.ศ.๒๕๐๐ ส่วนองค์พระได้ทาสีดำทั้งองค์

   ทางจังหวัดได้กราบบังคมทูลพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตื พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ มาทรงยกช่อฟ้า
พระวิหารพระมงคลบพิตรเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๑๘
  ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๓๓ สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จ
พระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เสด็จฯ มาเป็นองค์ประธาน
เททองหล่อพระพุทธรูปพระมงคลบพิตรจำลอง ได้ประทานดำริว่า
ถ้าได้มีการปิดทององค์พระทั้งองค์ จะทำให้พุทธลักษณะงดงาม
น่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งขึ้น  
    ต่อมาสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ พระราชดำเนินมาทรง
นมัสการพระมงคลบพิตร และได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์
เป็นจำนวนเงิน ๗๐,๐๐๐ บาท เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์
   ดังนั้น จังหวัดพระนครศรีอยุธยาร่วมกับมูลนิธิพระมงคลบพิตร
จึงเห็นสมควรดำเนินการปิดทององค์พระมงคลบพิตร  เพื่อความ
สง่างามตามพระราชดำริของสมเด็จพระสงฆราช และได้จัดเป็น
โครงการบูรณะปิดทององค์พระมงคลบพิตร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐
พรรษา  สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถด้วย  เริ่มดำเนินการ
ในปี พ.ศ.๒๕๓๔  แล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๓๕  จนมาถึงปัจจุบันนี้

ที่มาของข้อมูล : มูลนิธิพระมงคลบพิตร.๒๕๔๔. ประวัติพระมงคลบพิตร,
                         พิมพ์ครั้งที่ ๒ ,พระนครศรีอยุธยา:โรงพิมพ์เทียนวัฒนา.

 

การบูรณปฏิสังขรณ์ในปีพุทธศักราช 2559

 

พิธีบวงสรวงอดีตบูรพกษัตราธิราช วีรกษัตรีและบรรพบุรุษทุกผู้ทุกนาม  เพื่อขอบูรณปฏิสังขรณ์วิหารพระมงคลบพิตร   ในวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2559

 

 

 

เคลื่อนย้ายศาลาทรงไทย เต็นท์ และอุปกรณ์อื่นๆ จากวิหารสู่ด้านล่างเพื่อเตรียมสถานที่ในการบูรณะซ่อมแซมวิหารพระมงคลบพิตร เริ่มตั้งแต่ วันที่ 16 สิงหาคม 2559

 

 ชมรายละเอียดเพิ่มเติมการบูรณะจนถึงปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบัญชีการบริจาคเพื่อสมทบทุนบูรณปฏิสังขรณ์ วิหารพระมงคลบพิตร 

บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย.   ชื่อบัญชี "เงินรับบริจาคบูรณปฏิสังขรณ์วิหารพระมงคลบพิตร"  เลขที่บัญชี 101-0-39828-8 

  Tel. 035-321797 , 035-243172             Fax. 035-243172            E-mail : mongkolbopit035@gmail.com 

 

 

 

 

 

 

 
  

 

สำนักนายกรัฐมนตรี

ศูนย์ดำรงธรรม

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

สำนักศิลปากรที่ 3

เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา

 ศูนย์ท่องเที่ยวจังหวัด อย.

สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

ศูนย์ดำรงธรรมอยุธยา

อบจ.พระนครศรีอยุธยา

สนง.ธนารักษ์พื้นที่ อย.

เทศบาลเมืองอโยธยา

 มรภ.พระนครศรีอยุธยา

  

  
  

ไทยรัฐ

เดลินิวส์

มติชน

ข่าวสด

คมชัดลึก

แนวหน้า

TV 3

TV 5

TV 7

TV 9

ThaiPBS

ATV