พระมงคลบพิตร
เป็นพระพุทธรูปโบราณขนาดใหญ่ที่สุดองค์หนึ่ง ในประเทศไทย
ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลวง บริเวณพระราชวัง โบราณ
ด้านทิศตะวันตก ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน ทั่วไปตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ครองจีวรห่มเฉียงเปิด
พระอังสาขวา มีสังฆาฏิพาดเหนือพระอังสาซ้าย ยาวลงมาจด
พระนาภี พระพุทธรูปก่ออิฐเป็นแกน บุด้วยทองสัมฤทธิ์
ขนาดหน้าตักกว้าง ๙ เมตร ๕๕ เซ็นติเมตร
ส่วนสูงเฉพาะ องค์พระไม่รวมฐานบัว ๑๒ เมตร ๔๕
เซนติเมตร ส่วนฐานบัว สูงจากพื้นถึงองค์พระ ๔ เมตร ๕๐
เซนติเมตร พระเศียรวัด โดยรอบตรงเหนือพระกรรณ
๗ เมตร ๒๕ เซนติเมตร พระพักตร์ กว้าง ๒
เมตร ๓๒ เซนติเมตร บัวหงายระหว่างพระรัศมี ถึง พระเกตุมาลาสูง
๔๓ เซนติเมตร พระรัศมีเหนือบัวหงายสูง ๑
เมตร ๓๐ เซนติเมตร พระกรรณยาวข้างละ
๑ เมตร ๘๑ เซนติเมตร พระเนตรยาวข้างละ
๑ เมตร ๕ เซนติเมตร พระนาสิกยาว ๑ เมตร ๒๐
เซนติเมตร และพระโอษฐ์ยาว ๑ เมตร ๑๖ เซนติเมตร
|
พระมงคลบพิตรจะสร้างในอาณาจักรใดรัชกาลใดไม่ปรากฏ หลักฐาน
แน่นอน นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีไทย ได้ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับ
ประวัติพระมงคลบพิตรไว้ต่าง ๆ เริ่มจากข้อความในพงศาวดารเหนือ
ที่กล่าวว่า "พระเจ้าสายน้ำผึ้ง
จึงยกพลลงไปขุดบางเตย จะสร้างเมืองใหม่ พระอาจารย์ห้ามว่า
น้ำเค็มนักยังไม่ถึงพุทธทำนาย สร้างไม่ได้ จึงสร้าง วัดพะแนงเชิงขึ้นที่แหลมบางกะจะ
ตรงที่พระราชทานเพลิงศพ นางสร้อยดอกหมาก พระมเหสี"
นายมานิต วัลลิโภดม ภัณฑารักษ์พิเศษ ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีของ
กรมศิลปากร ได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ เฉลิมพระราชอนุเสาวรีย์สมเด็จพระรามาธิบดีที่
๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ตอนหนึ่งว่า "พระเจ้าสายน้ำผึ้ง
ทรงสร้างพระอารามขึ้นในบริเวณเมืองอโยธยา ๒ แห่ง คือ พ.ศ.๑๖๘๗
สร้างวัดพนัญเชิงที่แหลมบางกะจะแห่งหนึ่งวัดมงคลบพิตร อีกแห่งหนึ่ง
อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ "
ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า "เมื่อ
พ.ศ.๒๑๔๖ แผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ย้าย พระมงคลบพิตรจากฟากตะวันออกไปอยู่ฟากตะวันตก
แต่มิได้เล่าประวัติ ว่าพระพุทธรูปกับวัดสร้างมาแต่ครั้งใด"
ข้อสันนิษฐานจากนักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งที่เชื่อว่า
พระมงคลบพิตรนั้น สมเด็จพระชัยราชาธิราช รัชกาลที่ ๑๐ แห่งกรุงศรีอยุธยาเป็นผู้สร้าง
ทั้งนี้ เพราะเชื่อว่าตั้งแต่รัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่
๓ มีความเจริญ รุ่งเรืองและมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ อันเกิดจากการค้าขายทางทะเลกับ
จีนและเมืองนอก กรุงศรีอยุธยาเข้าสู่ยุคทองของศิลปและวิทยาการ
ทำให้ เกิดการสร้างวัดวาอารามขึ้น ทั้งภายในเมืองหลวงและหัวเมืองต่าง
ๆ วัดที่ สำคัญที่สุดคือวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระมงคบพิตรอาจจะสร้างในสมัยนี้้ก็ได้
|
สมเด็จฯ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงวืจารณ์ไว้ว่า พระพุทธรูป มงคลบพิตรนี้
ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย และนายตรี อมาตยกุล ได้วิจารณ์
ว่า "เท่าที่ได้ตรวจพิจารณาโดยละเอียดคือ
พระพุทธรูปสมัยอู่ทองเจือ สุโขทัยอย่างพระมงคลบพิตรนี้ นิยมสร้างกันอยู่ยุคหนึ่งในระหว่างแผ่นดิน
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จนถึงสมัยแผ่นดิยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
พระมงคลบพิตร ก็น่าจะได้สร้างขึ้นในระหว่างนี้ แต่ไม่ปรากฏใน
พงศาวดารสักแห่งเดียว ว่าสร้างเมื่อใด มาปรากฏเอาในหนังสือพงศาวดาร
ฉบับพระราชหัตถเลขาเป็นครั้งแรกว่า พระมงคลบพิตรนี้เดิมอยู่ทางฝ่าย
ตะวันออกนอกพระราชวัง พระเจ้าทรงธรรมโปรดฯ ให้ชะลอมาไว้ทางฝ่าย
ตะวันตก ตรงที่ประดิษฐานอยู่ ณ บัดนี้ เมื่อจุลศักราช
๙๖๕ (พ.ศ.๒๑๔๖) เพราะฉะนั้น จึงเข้าใจว่าพระพุทธรูปองค์นี้
น่าจะสร้างขึ้นก่อนแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมขึ้นไป"
หากว่าสังเกตจากพุทธลักษณะพระมงคลบพิตรแล้ว
จะเห็นว่าเป็น พระพุทธรูปแบบสุโขทัยปนแบบอู่ทอง ซึ่งถ้าหากสันนิษฐานตามยุคสมัย
ของศิลปะแล้วพระมงคลบพิตรน่าจะสร้างในระหว่างปี พ.ศ.๑๙๙๑-๒๑๔๕
คือในระหว่างรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ หรือเจ้าสามพระยา
ถึงรัชสมัยสมเด้จพระนเรศวรมหาราช
พระมงคลบพิตร
จะสร้างในสมัยใดก็ตาม ก็นับว่าเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ ที่มีพุทธลักษณะงดงาม
มีค่ามหาศาล เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของ กรุงศรีอยุธยา
และเป็นที่เคาระสักการะมานานนับร้อย ๆ ปี
ที่มาของข้อมูล
: มูลนิธิพระมงคลบพิตร.๒๕๔๔. ประวัติพระมงคลบพิตร, พิมพ์ครั้งที่
๒ ,พระนครศรีอยุธยา:โรงพิมพ์เทียนวัฒนา.
|